เมนู

ศาสดาอีก 3 จำพวก


1. บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดานี้ใด ย่อมปฏิบัติตนในทิฏฐธรรม
โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติตนในภายหน้า
โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่า ศาสดานั้นเป็น
ศาสดาผู้มีวาทะว่าเที่ยง โดยการบัญญัตินั้น
2. ศาสดานี้ใด ย่อมบัญญัติตนในทิฏฐธรรม และย่อมไม่บัญญัติตน
ภายหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่า ศาสดา
นั้นเป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าขาดสูญ โดยการบัญญัตินั้น
3. ศาสดานี้ใด ย่อมไม่บัญญัติตนในทิฏฐธรรม โดยความเป็นของมี
จริง โดยความเป็นของยั่งยืน และย่อมไม่บัญญัติตนในภายหน้า โดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน พึงเห็นว่าศาสดานั้น เป็นศาสดาผู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการบัญญัตินั้น
เหล่านี้เรียกว่าศาสดา 3 จำพวก แม้อื่นอีก.
จบติกนิทเทส

อรรถกถาศาสดา 3 จำพวก


สองบทว่า "ปริญฺญํ ปญฺญเปติ" ได้แก่ ย่อมบัญญัติการละ คือ
การก้าวล่วง.
ข้อว่า "ตตฺร" ได้แก่ ในศาสดา 3 จำพวกนั้น.
สองบทว่า "เตน ทฏฺฐพฺโพ" ความว่า ศาสดานั้น บัณฑิตพึง
เห็นว่า เป็นผู้มีปกติได้รูปาวจรสมาบัติด้วยบัญญัตินั้น. แม้ในวาระที่ 2 ก็
นัยนี้เหมือนกัน.

ข้อว่า " สมฺมาสมฺพุทฺโธ สตฺถา เตน ทฏฺฐพฺโพ" ความว่า
พระศาสดาองค์ที่ 3 ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ บัณฑิตพึงเห็นด้วยการ
บัญญัติ อันไม่สาธารณะกับเดียรถีย์นั้น. จริงอยู่ พวกเดียรถีย์เมื่อบัญญัติการ
ละกามทั้งหลาย ย่อมกล่าวอ้างถึงรูปภพ เมื่อบัญญัติการละรูปทั้งหลาย ย่อม
กล่าวอ้างถึงอรูปภพ เมื่อบัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย ย่อมกล่าวอ้างถึง
อสัญญภพ เมื่อเขาจะบัญญัติโดยชอบพึงบัญญัติอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่สามารถ
เพื่อบัญญัติได้โดยชอบ. ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมบัญญัติการละ (ปหาน-
ปริญญา) กามทั้งหลายด้วยอนาคามิมรรค ย่อมบัญญัติการละรูปและเวทนา
ทั้งหลายด้วยอรหัตมรรค.
ข้อว่า "อิเม ตโย สตฺถาโร" ความว่า ชนทั้ง 2 จำพวกนี้ เป็น
ศาสดาภายนอกพระพุทธศาสนา กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 จำพวก ฉะนั้น
ในโลกนี้ จึงมีศาสดา 3 จำพวก.
ในนิทเทสแห่งศาสดาพวกที่ 2
สองบทว่า "ทิฏเฐว ธมฺเม" ได้แก่ ในอัตภาพนี้เท่านั้น.
ข้อว่า "อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ" ความว่า ย่อม
บัญญัติ โดยความมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืนว่า ชื่อว่า อัตตาอันหนึ่ง
เป็นของเที่ยง เป็นของยั่งยืน เป็นของแน่นอน มีอยู่.
บทว่า "อภิสมฺปรายญฺเจ" ได้แก่ ย่อมบัญญัติในอัตภาพแม้อื่นอีก
เหมือนกันนั่นแหละ.
คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคำที่กล่าวไว้แล้วเทียว
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาติกนิทเทส ว่าด้วยบุคคล 3 จำพวก เพียงนี้

จตุกกนิทเทส


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก

[104] 1. อสัปปุริสบุคคล บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษเป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
อสัตบุรุษ

2. อสัปปุริเสนอสัปปุริสตรบุคคล บุคคลผู้เป็น
อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
ด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ด้วย ประพฤติผิดใน
กามด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามด้วย พูดเท็จด้วยตน
เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จด้วย ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาทด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาทด้วย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป้นอสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.
3. สัปปุริสบุคคล บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นสัตบุรุษ.